หลักการพื้นฐานของคุณธรรม
พลเอก ศรุต นาควัชระ (Ph.D.)
หลักการพื้นฐานของคุณธรรม ที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขคือ “เว้นชั่วตลอดเวลาและทำความดีอย่างเหมาะสม”
องค์กรด้านการศึกษาล้วนมุ่งสู่ “การสร้างเด็กดี ก่อนเด็กเก่ง” สอดคล้องกับคำขวัญ “คุณธรรม นำความรู้” ซึ่งความหมายของเด็กดี คือ “ผู้ที่เว้นชั่วตลอดเวลา และทำความดีอย่างเหมาะสม” ดังนั้น ศูนย์ยวพัฒน์มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จึงได้จัดทำหลักการพื้นฐานคุณธรรม เพื่อให้เยาวชนใช้เป็นกรอบแนวคิด ในการตรวจสอบตนเองด้านคุณธรรมและจะทำให้เยาวชน โดย “เว้นชั่วตลอดเวลา และทำดีอย่างเหมาะสม” นอกจากนั้นหลักการพื้นฐานข้อคุณธรรมนี้ ยังเป็นรากฐานเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาผู้เรียนในด้านอื่นๆ อีก เช่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การต่อต้านทุจริต การเสริมสร้างประชาธิปไตย หน้าที่พลเมือง/ ศีลธรรม และอุดมการณ์รักชาติด้วย
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา
1. เพื่อให้เยาวชนรู้จักควบคุมตนเองโดยเว้นชั่วตลอดเวลา และทำความดีได้อย่างเหมาะสม
เนื้อหาของรายวิชา หลักการคุณธรรมพื้นฐาน ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความดีคืออะไร
บทที่ 2 การกระทำแบ่งได้เป็นกี่ระดับ
บทที่ 3 ศีล 5 ไม่บกพร่องทำความดีแล้วหรือยัง
บทที่ 4 ความดีเป็นเรื่องของเจตนาหรือผลลัพธ์
บทที่ 5 การทำเพื่อผู้อื่นหรือส่วนรวมถูกต้องทุกครั้งหรือไม่
บทที่ 6 คุณธรรมเชิงสัมพัทธ์คืออะไร
บทที่ 7 คำถามในการตรวจสอบตนเองด้านคุณธรรมคืออะไร
บทที่ 8 สมการคุณธรรมคืออะไร
บทที่ 9 การไม่ทำผิดกฎแต่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ควรทำ หรือไม่
บทที่ 10 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำคัญอย่างไร
พลเอก ศรุต นาควัชระ (Ph.D.)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย